ใครมีความคิดเห็นกับแน้วโน้มของเทคโนโลยีการสื่อสารในอนาคตของไทยบ้างไหม
อ่านข่าวไอทีวันนี้ว่า กศท ได้นำเทคโนโลยไวแม็ก มาทดลองใช้ที่ชลบุรี
ดังนี้ครับ
ทีโอทีลั่นพร้อมลงทุนไวแมกซ์มากกว่าผู้ประกอบรายใด เผยมีลูกค้าในมือรอรับบริการแล้วกว่า 2 แสนราย คาดให้บริการเชิงพาณิชย์ในปี 52 เล็งนำมาทดแทนบริการ TDMA โทรศัพท์ 470 MHz ที่อุปกรณ์จวนหมดอายุ และเสริมลูกค้าที่ต้องการบรอดแบนด์นอกข่ายสาย ชี้ผลทดสอบที่ชลบุรีได้ผลน่าพอใจ
นายวิเชียร นาคศรีนวล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหสชน) เปิดเผยว่า ทีโอทีมีความต้องการให้บริการไวแมกซ์ ทันทีที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) ให้ใบอนุญาต และยังมีความพร้อมในการลงทุนมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่นที่ยื่นขอทดสอบไวแมกซ์จำนวน 14 ราย ซึ่งคาดว่าจะสามารถให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2552
ปัจจุบันทีโอทีมีคลื่นความถี่ 2.3 GHz ที่พร้อมใช้ให้บริการไวแมกซ์ ในย่านความถี่ 2.5 GHz ได้ทันที อีกทั้งทีโอทีมีฐานลูกค้าในมือที่พร้อมใช้บริการแล้วกว่า 2 แสนราย โดยลูกค้าเหล่านี้เป็นลูกค้าเดิมที่ใช้งานเทคโนโลยี Time division multiple access (TDMA) และลูกค้าที่ใช้บริการโทรศัพท์ระบบ 470 MHz ซึ่งอุปกรณ์ของทั้งสองบริการใกล้จะหมดอายุแล้ว “ทีโอทีมีความพร้อมให้บริการไวแมกซ์มากกว่าผู้ประกอบการทุกรายที่ได้สิทธิ์ในการทดสอบจาก กทช. เพราะเรามีฐานลูกค้าพร้อมใช้อยู่ในมือ อีกทั้งยังมีคลื่นความถี่ 2.5 GHz ที่สามารถให้บริการไวแมกซ์ได้ เพราะเป็นย่านความถี่ใกล้เคียงกัน ส่วนเรื่องการลงทุนขณะนี้ยังไม่ได้มีการวิเคราะห์ไว้ว่าจะเป็นเท่าไหร่ แต่โดยเฉลี่ย 1 สถานีฐานใช้เงินลงทุนประมาณ 2-3 ล้านบาท ประกอบกับขณะนี้ทีโอทีต้องลงทุนมากมายหลายรายการ เช่น บรอดแบนด์ไอพี บรอดแบนด์ 1 แสนพอร์ต และโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี” ผู้บริหารทีโอทีกล่าวว่า ไวแมกซ์เป็นเทคโนโลยีที่สร้างประโยชน์ให้กับทีโอทีเป็นอย่างมาก โดยทีโอทีมีเป้าหมายที่นำไวแมกซ์เข้าไปใช้ทดแทนบริการที่อุปกรณ์ใกล้หมดอายุ อย่าง TDMA ซึ่งทีโอทียังมีลูกค้าใช้บริการอยู่มากกว่า 1 แสนราย และโทรศัพท์ 470 MHz ซึ่งทีโอทีให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ และโทรศัพท์พื้นฐาน ซึ่งมีลูกค้าใช้บริการ 30,000 เลขหมาย
นอกจากนี้ บริการดังกล่าวยังสามารถช่วยให้ทีโอทีให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แก่ลูกค้าที่มีความต้องการใช้งานบริเวณนอกข่ายสายโทรศัพท์ประจำที่ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ทีโอทีจะไม่ลงทุนในทั้งหมดทั่วประเทศ แต่จะเลือกเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากอย่างแท้จริงเนื่องจากเสี่ยงต่อปัญหาอุปกรณ์ตกรุ่น และไม่มีความต้องการใช้งาน “ทีโอทีมีเป้าหมายนำบริการนี้ไปใช้งานชดเชยบริการเดิมที่อุปกรณ์ใกล้หมดอายุ และจะนำไปเสริมให้บริการแก่ลูกค้าที่ต้องการใช้งานบรอดแบนด์ความเร็วสูง แต่อยู่นอกพื้นที่ข่ายสายโทรศัพท์พื้นฐานเข้าถึงได้”
พร้อมกันนี้ ทีโอทีได้ทดสอบไวแมกซ์ ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 3 สถานีฐาน เป็นระยะเวลา 6 เดือนร่วมกับบริษัท แพลนเน็ต คอมมูนิเคชั่น เอเชีย ซึ่งเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์โมโตโรล่า ซึ่งผลการทดสอบออกมาเป็นไปตามมาตรฐาน สามารถให้บริการในอาคารระยะหวังผล 2-3 กิโลเมตร นอกอาคารประมาณ 9.1 กิโลเมตร ซึ่งปกติระยะทางการทดสอบในพื้นที่โล่งไม่มีตึกหรือภูเขาบดบังสื่อสัญญาณได้ไกลถึง 15 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่หวังผลจะต้องอยู่ในมุม 90 องศาของอุปกรณ์สื่อสัญญาณ สำหรับสถานที่ติดตั้ง 3 จุดอยู่ที่ศูนย์โทรคมนาคมชลบุรี ชุมสายเขาบางทราย และอาคารพักอาศัยบริเวณอำเภอเมือง พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ลูกข่าย จำนวน 22 ชุด ประกอบด้วยอุปกรณ์ลูกข่ายทั้ง 4 ประเภท คือ แบบที่ใช้ภายในอาคาร หรือ Indoor CPE จำนวน 10 ชุด และแบบภายนอกอาคาร หรือ Outdoor CPE จำนวน 5 ชุด เพื่อติดตั้งให้ทดสอบใช้งานที่โรงพยาบาล สถานีตำรวจ สถานศึกษา ร้านค้า บ้านพักอาศัย แบบพีซีไอ การ์ด หรือ PCI Card จำนวน 5 ชุด เพื่อติดตั้งให้ใช้งานกับโน้ตบุ๊กที่สถานศึกษา สำนักงานที่ดิน บริษัทเอกชน และแบบชนิดติดรถยนต์ หรือ Mobile CPE จำนวน 2 ชุด เพื่อให้ใช้กับรถตำรวจ
อย่างไรก็ดี กลุ่มลูกค้า ทีโอที ที่เข้าร่วมการทดสอบจะได้ใช้งานระบบจริงโดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่าย โดยมีช่วงระยะเวลาการทดสอบประมาณ 30–90 วัน ในวันที่ 19 ก.ย. 51 ทีโอทีจะต้องเก็บอุปกรณ์คืน และส่งออกนอกประเทศทั้งหมดตามเงื่อนไขกทช.
เหตุผลที่เลือกพื้นที่ทดสอบที่จังหวัดชลบุรีเพราะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ อีกทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตค่อนข้างสูง และมีกลุ่มลูกค้าผู้ใช้งานที่หลากหลาย สามารถทดสอบระบบได้หลายรูปแบบและมีความพร้อมด้านโครงข่ายพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่อง ของการเชื่อมโยงระบบสื่อสัญญาณ
จาก โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 กันยายน 2551 10:33 น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น