วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551
วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551
Vista
.....เนื่องจากมันมีระบบปฏิบัติการ Windows Vista ถึง 7 เวอร์ชันที่แตกต่างกัน แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลของความล่าช้าที่เกิดขึ้น ปัญหาคือ คุณจะทำอย่างไรหากต้องแนะนำระบบปฏิบัติการหลายๆ เอดิชันที่มีความแตกต่างในรายละเอียดพร้อมกัน เอาเป็นว่า เรามาทำความรู้จักกับพวกมันดีกว่า
Windows Vista เอดิชั่นแรกคือ Starter Edition ได้ยินแล้วทำให้นึกถึง XP Starter Edition ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่มีการลดทอนความสามารถของผลิตภัณฑ์ลง เพื่อให้มีราคา และประสิทธิภาพอยู่ในระดับที่สามารถวางจำหน่ายให้กับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาได้
.....เอดิชั่นต่อมาเรียกว่า Home Basic Edition มันคงจะเป็นเวอร์ชันที่มีคุณสมบัติการทำงานแบบ Windows XP Home ที่ต้องใช้คำนี้ เพราะมันจะมีเวอร์ชัน Home Permium Edition ด้วย ซึ่งแน่นอนว่า เอดิชั่นนี้จะมีการเพิ่มความสามารถที่มากกว่า Home Basic Edition โดยเฉพาะคุณสมบัติของการเป็น Media Center นั่นหมายถึง ความสามารถในการทำงานร่วมกับ HDTV, การสร้างสรรค์งานบนมีเดียอย่าง DVD หรือแม้แต่การก็อปปี้แผ่น DVD ด้วย Windows DRM นั่นเอง ซึ่งทั้งสามเวอร์ชันจะเหมาะกับผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่อยู่ตามบ้าน อย่างไรก็ดี คุณสมบัติการทำงาน และขีดความสามารถของพวกมันโดยรวมจะคล้ายกับ Windows XP Pro ที่เพิ่มความสามารถในการให้ความบันเทิงเข้าไปด้วย
.....คราวนี้มาดูเวอร์ชันที่สูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่งนั่นคือ Windows Vista Professional Edition ซึ่งแน่นอนว่า มันย่อมไม่เหมือนกับ Windows XP Pro ที่ใช้กันทุกวันนี้ เนื่องจากเป็นเอดิชั่นที่ได้รับการออกแบบสำหรับการใช้งานธุรกิจเท่านั้นนอกจากนี้ Vista ยังมีอีก 2 เอดิชั่นสำหรับธุรกิจนั่นคือ Small Business Edition และ Enterprise Edition ซึ่งความแตกต่างจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการทำงานที่เพิ่มเข้าไป โดยจะสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละตลาด ยกตัวอย่างเช่น SBE (Small Business Edition) จะเพิ่มโซลูชั่นสำหรับการแบคอัพเครือข่าย ในขณะที่ EE (Enterprise Edition) จะรวมคุณสมบัติที่เรียกว่า Virtual PC และความสามารถในการเข้ารหัสข้อมูลทั้งหมดเข้าไปด้วย
......และเวอร์ชันสุดท้ายจะใช้ชื่อว่า Ultimate Edition ซึ่งแน่นอนว่า มันจะเป็นเอดิชันที่รวมความเป็นสุดยอดของคุณสมบัติการทำงานของระบบปฏิบัติการที่ชื่อว่า Windows Vista
โดยสรุป Windows Vista ทั้ง 7 เวอร์ชันมีดังนี้
* Windows Vista Starter Edition
* Windows Vista Home Basic Edition
* Windows Vista Home Premium Edition
* Windows Vista Professional Edition
* Windows Vista Small Business Edition
* Windows Vista Enterprise Edition
* Windows Vista Ultimate Edition
วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551
อินเทลพร้อมลุยตลาดใหม่ Solid-State Drives
สองเทคโนโลยีสู่หนึ่งผลิตภัณฑ์
จากข่าวคราวที่ผ่านมาตั้งแต่ต้นปีของอินทลไม่ว่าจะเป็น ไตรมาสหนึ่งที่อินเทลก็ร่วมมือกับไมครอนในการพัฒนา NAND Flash memory ที่เร็วกว่าเดิมถึง 5 เท่า คือจากเดิมก็ทำความเร็วในการอ่านข้อมูลได้แค่เพียง 40 MB/s และเขียนนั้นทำได้ที่ 20 MB/s มาเป็นความเร็วในการอ่านข้อมูลได้สูงสุดถึง 200 MB/s และเขียนข้อมูลได้เร็วถึง 100 MB/s และไตรมาสที่สองที่ผ่านมานี้อินเทลก็ได้ร่วมมือกับไมครอนอีกครั้งผลิตชิบ NAND Flash Memory ขนาด 32 กิกะบิต ที่ขนาด 34 ไมครอน พอมาไตรมาสที่สามนี้อินเทลก็เอาเทคโนโลยีทั้งสองมารวมกันแล้วผลิตเป็นฮาร์ดดิสก์ SSD ออกในงาน IDF เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้ ซึ่งตอนที่อยู่ในงานนั้น ทางอินเทลเองก็ไม่ได้บอกว่าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับใคร แต่ในขณะที่เดินในงาน IDF ก็ไปเจอป้ายรูปสินค้าข้อมูลในบูตของ Kingston ดังนั้นข้อมูลที่เรารู้เพียงอย่างเดียว ณ วันนี้ ก็คือ อินเทลมีพาร์ทเนอร์รายแรกแล้ว คือ Kingston ซึ่งนั่นแสดงว่าในตลาด SSD ก็จะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งรายแล้ว
มาดูทางด้านสเป็กกันบ้าง
ในงาน IDF นั้นทางอินเทลเปิดตัวพร้อมๆ กัน 3 แบบ คือ X25-M และ X18-M โดยมีขนาด 2.5 และ 1.8 นิ้วตามลำดับ ซึ่งเป็นรุ่นที่จะมาเจาะตลาดเดสก์ท็อปกับโน้ตบุ๊ก โดยจะผลิตและออกจำหน่ายได้ในเเดือนกันยายนที่ขนาด 80 กิกะไบต์ และในไตรมาสที่สี่ปีนี้จะผลิตได้ที่ขนาด 160 กิกะไบต์ ส่วนอีกรุ่นคือ X25-E จะเป็นสำหรับตลาดองค์กรเพื่อใช้สำหรับเวิร์กสเตชัน สตอเรจ และเซิร์ฟเวอร์ โดยจะมีขนาด 32 กิกะไบต์ และ 64 กิกะไบต์ ซึ่งทางอินเทลคาดว่าจะผลิตเพื่อสู่ตลาดได้ในอีก 90 วันนับจากผลิตตัว X25-M และ X18-M สำหรับความเร็วในการอ่านและการเขียนนั้น สามารถอ่านถึง 250 MB/s และเขียนข้อมูลได้เร็วถึง 70 MB/s ซึ่งจากข้อมูลนี้นั่นแสดงว่าผลิตภัณฑ์ที่ออกนี้จะอ่านได้เร็วกว่า แต่เขียนช้ากว่า NAND Flash memory ที่ร่วมพัฒนากับไมครอนเมื่อต้นปี
ไม่ได้มีแต่ SATA เท่านั้น PATA ก็มีด้วย
หลังจากกลับงาน IDF 2008 ได้ พอเข้าไปดูในเว็บไซต์อินเทล http://www.intel.com/design/flash/nand นอกเหนือไปจากอินเทอร์เฟซแบบ SATA แล้วอินเทลยังมีอินเทอร์เฟซแบบ PATA ด้วย คือ Z-P230 และ Z-P140 ซึ่งสาเหตุที่มีก็เพราะในปี 2006 ทางอินเทลเริ่มประกาศถึงแพลตฟอร์ม Atom ซึ่งในขณะนั้นสนับสนุนอินเทอร์เฟซแบบ PATA เพียงอย่างเดียว ดังนั้นทางอินเทล (Nand Product Group) จึงตัดสินใจเลือกผลิตทั้งแบบ SATA และ PATA สำหรับข้อมูลในส่วนของ ZP230 ได้รับการออกแบบมาใช้เพื่อใช้กับ Netbook และ Nettop มีความจุขนาด 4 กิกะไบต์และ 8 กิกะไบต์ตามลำดับ ส่วนขนาด 16 กิกะไบต์จะออกในไตรมาสสี่ ส่วน Z-P140 ออกแบบสำหรับเครื่อง MID รวมไปถึงมือถือด้วย มีความจุขนาด 4, 8 และ 16 กิกะไบต์
สำหรับคนที่ต้องการดูว่า SSD ของอินเทลทำงานได้อย่างไรนั้นคลิ๊กไปที่ http://www.intel.com/design/flash/nand/demo/demo.htm ได้เลยครับ
วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551
การสื่อสาร
อ่านข่าวไอทีวันนี้ว่า กศท ได้นำเทคโนโลยไวแม็ก มาทดลองใช้ที่ชลบุรี
ดังนี้ครับ
ทีโอทีลั่นพร้อมลงทุนไวแมกซ์มากกว่าผู้ประกอบรายใด เผยมีลูกค้าในมือรอรับบริการแล้วกว่า 2 แสนราย คาดให้บริการเชิงพาณิชย์ในปี 52 เล็งนำมาทดแทนบริการ TDMA โทรศัพท์ 470 MHz ที่อุปกรณ์จวนหมดอายุ และเสริมลูกค้าที่ต้องการบรอดแบนด์นอกข่ายสาย ชี้ผลทดสอบที่ชลบุรีได้ผลน่าพอใจ
นายวิเชียร นาคศรีนวล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหสชน) เปิดเผยว่า ทีโอทีมีความต้องการให้บริการไวแมกซ์ ทันทีที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) ให้ใบอนุญาต และยังมีความพร้อมในการลงทุนมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่นที่ยื่นขอทดสอบไวแมกซ์จำนวน 14 ราย ซึ่งคาดว่าจะสามารถให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2552
ปัจจุบันทีโอทีมีคลื่นความถี่ 2.3 GHz ที่พร้อมใช้ให้บริการไวแมกซ์ ในย่านความถี่ 2.5 GHz ได้ทันที อีกทั้งทีโอทีมีฐานลูกค้าในมือที่พร้อมใช้บริการแล้วกว่า 2 แสนราย โดยลูกค้าเหล่านี้เป็นลูกค้าเดิมที่ใช้งานเทคโนโลยี Time division multiple access (TDMA) และลูกค้าที่ใช้บริการโทรศัพท์ระบบ 470 MHz ซึ่งอุปกรณ์ของทั้งสองบริการใกล้จะหมดอายุแล้ว “ทีโอทีมีความพร้อมให้บริการไวแมกซ์มากกว่าผู้ประกอบการทุกรายที่ได้สิทธิ์ในการทดสอบจาก กทช. เพราะเรามีฐานลูกค้าพร้อมใช้อยู่ในมือ อีกทั้งยังมีคลื่นความถี่ 2.5 GHz ที่สามารถให้บริการไวแมกซ์ได้ เพราะเป็นย่านความถี่ใกล้เคียงกัน ส่วนเรื่องการลงทุนขณะนี้ยังไม่ได้มีการวิเคราะห์ไว้ว่าจะเป็นเท่าไหร่ แต่โดยเฉลี่ย 1 สถานีฐานใช้เงินลงทุนประมาณ 2-3 ล้านบาท ประกอบกับขณะนี้ทีโอทีต้องลงทุนมากมายหลายรายการ เช่น บรอดแบนด์ไอพี บรอดแบนด์ 1 แสนพอร์ต และโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี” ผู้บริหารทีโอทีกล่าวว่า ไวแมกซ์เป็นเทคโนโลยีที่สร้างประโยชน์ให้กับทีโอทีเป็นอย่างมาก โดยทีโอทีมีเป้าหมายที่นำไวแมกซ์เข้าไปใช้ทดแทนบริการที่อุปกรณ์ใกล้หมดอายุ อย่าง TDMA ซึ่งทีโอทียังมีลูกค้าใช้บริการอยู่มากกว่า 1 แสนราย และโทรศัพท์ 470 MHz ซึ่งทีโอทีให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ และโทรศัพท์พื้นฐาน ซึ่งมีลูกค้าใช้บริการ 30,000 เลขหมาย
นอกจากนี้ บริการดังกล่าวยังสามารถช่วยให้ทีโอทีให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แก่ลูกค้าที่มีความต้องการใช้งานบริเวณนอกข่ายสายโทรศัพท์ประจำที่ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ทีโอทีจะไม่ลงทุนในทั้งหมดทั่วประเทศ แต่จะเลือกเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากอย่างแท้จริงเนื่องจากเสี่ยงต่อปัญหาอุปกรณ์ตกรุ่น และไม่มีความต้องการใช้งาน “ทีโอทีมีเป้าหมายนำบริการนี้ไปใช้งานชดเชยบริการเดิมที่อุปกรณ์ใกล้หมดอายุ และจะนำไปเสริมให้บริการแก่ลูกค้าที่ต้องการใช้งานบรอดแบนด์ความเร็วสูง แต่อยู่นอกพื้นที่ข่ายสายโทรศัพท์พื้นฐานเข้าถึงได้”
พร้อมกันนี้ ทีโอทีได้ทดสอบไวแมกซ์ ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 3 สถานีฐาน เป็นระยะเวลา 6 เดือนร่วมกับบริษัท แพลนเน็ต คอมมูนิเคชั่น เอเชีย ซึ่งเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์โมโตโรล่า ซึ่งผลการทดสอบออกมาเป็นไปตามมาตรฐาน สามารถให้บริการในอาคารระยะหวังผล 2-3 กิโลเมตร นอกอาคารประมาณ 9.1 กิโลเมตร ซึ่งปกติระยะทางการทดสอบในพื้นที่โล่งไม่มีตึกหรือภูเขาบดบังสื่อสัญญาณได้ไกลถึง 15 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่หวังผลจะต้องอยู่ในมุม 90 องศาของอุปกรณ์สื่อสัญญาณ สำหรับสถานที่ติดตั้ง 3 จุดอยู่ที่ศูนย์โทรคมนาคมชลบุรี ชุมสายเขาบางทราย และอาคารพักอาศัยบริเวณอำเภอเมือง พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ลูกข่าย จำนวน 22 ชุด ประกอบด้วยอุปกรณ์ลูกข่ายทั้ง 4 ประเภท คือ แบบที่ใช้ภายในอาคาร หรือ Indoor CPE จำนวน 10 ชุด และแบบภายนอกอาคาร หรือ Outdoor CPE จำนวน 5 ชุด เพื่อติดตั้งให้ทดสอบใช้งานที่โรงพยาบาล สถานีตำรวจ สถานศึกษา ร้านค้า บ้านพักอาศัย แบบพีซีไอ การ์ด หรือ PCI Card จำนวน 5 ชุด เพื่อติดตั้งให้ใช้งานกับโน้ตบุ๊กที่สถานศึกษา สำนักงานที่ดิน บริษัทเอกชน และแบบชนิดติดรถยนต์ หรือ Mobile CPE จำนวน 2 ชุด เพื่อให้ใช้กับรถตำรวจ
อย่างไรก็ดี กลุ่มลูกค้า ทีโอที ที่เข้าร่วมการทดสอบจะได้ใช้งานระบบจริงโดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่าย โดยมีช่วงระยะเวลาการทดสอบประมาณ 30–90 วัน ในวันที่ 19 ก.ย. 51 ทีโอทีจะต้องเก็บอุปกรณ์คืน และส่งออกนอกประเทศทั้งหมดตามเงื่อนไขกทช.
เหตุผลที่เลือกพื้นที่ทดสอบที่จังหวัดชลบุรีเพราะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ อีกทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตค่อนข้างสูง และมีกลุ่มลูกค้าผู้ใช้งานที่หลากหลาย สามารถทดสอบระบบได้หลายรูปแบบและมีความพร้อมด้านโครงข่ายพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่อง ของการเชื่อมโยงระบบสื่อสัญญาณ
จาก โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 กันยายน 2551 10:33 น